ยุทธศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ยุทธศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  นโยบาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในระยะ 15 ปี  (พ.ศ. 2555 - 2569)

 การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาของคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการผลิตและแผนพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้สำเร็จอาชีวศึกษาเป็นสำคัญ โดยมุ่งปรับปรุงปัจจัยสนับสนุนและกระบวนการจัดอาชีวศึกษาให้เกิดคุณภาพ ทั้งในด้าน

1)         สารสนเทศสำคัญที่จะเป็นตัวบ่งชี้แนวทางการพัฒนากำลังคนในระดับโลก ระดับภูมิภาค

      ระดับประเทศ ระดับกลุ่มจังหวัด และระดับจังหวัด

2)           ให้ความสำคัญกับครู และผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ  โดยมุ่งเพิ่มพูนขีดความสามารถของครูในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนอย่าง               มีประสิทธิภาพ

3)         ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับสถานประกอบการโดยเน้นความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี และการฝึกงาน

4)         เตรียมความพร้อมกำลังคนรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในส่วนของการตั้งรับและเชิงรุกได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถทางภาษา และสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานในระดับสากลในการนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนา ประกอบด้วย 4 นโยบาย 10 ยุทธศาสตร์ 28 กลยุทธ์ และโครงการ 93 โครงการ

 

นโยบายที่ 1 :  มุ่งสร้าง/ผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาให้ตอบสนองความต้องการ

 ของตลาดแรงงาน

เป้าหมาย : ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภายใต้ บริบทความร่วมมือกับสถานประกอบการให้       ได้ตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองและฝึกอบรมวิชาชีพกำลังคนอาชีวศึกษาที่อยู่นอกระบบให้เพิ่มขึ้น

 

Ø ยุทธศาสตร์ที่ 1  มุ่งพัฒนาคุณภาพและปริมาณผู้เรียนให้สัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศและระดับสากล 

 

กลยุทธ์ที่ 1 ผลิตและพัฒนากำลังคนให้ มี สมรรถนะ ได้ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานและสังคมทั้งในประเทศ ภูมิภาค อาเซียน และระดับสากล

โครงการสำคัญ

1.    โครงการศึกษาความต้องการการผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งปริมาณและคุณภาพ     ภายในประเทศ

   1.1  ระดับจังหวัด

   1.2  ระดับกลุ่มจังหวัด

   1.3  ระดับกลุ่มอุตสาหกรรม  /กลุ่มอาชีพ

   2.   โครงการศึกษาความต้องการการผลิตและพัฒนากำลังคน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตาม

       กรอบความร่วมมือกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสากล

   3.   โครงการศึกษาเป้าหมายการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลางของประเทศไทย ระยะ

         15   ปี (ปีการศึกษา 2555 2569)  ระยะที่ 1  2555 - 2561 (60:40)

 ระยะที่ 2  2562 - 2569 (70:30)

กลยุทธ์ที่ 2  ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพด้วยรูปแบบที่หลากหลายทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาระบบทวิภาคี

โครงการสำคัญ

1.  โครงการแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาและสถานประกอบการ          ในกลุ่มจังหวัด

2.  โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและระดับสากล      

3.  โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาอาชีวศึกษาระหว่างประเทศ

 

กลยุทธ์ที่ 3  ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดอาชีวศึกษาด้านความร่วมมือ ผลิตและพัฒนากำลังคนร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยเฉพาะการศึกษาระบบทวิ ภาคี และการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพตามสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน

โครงการสำคัญ

1.               โครงการพัฒนาหลักสูตรทวิภาคีให้สอดคล้องกับขนาดและความสามารถของสถานประกอบการ

         โดยเฉพาะ SME ภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ

2.     โครงการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคน          

      อาชีวศึกษาระดับจังหวัด

3.        โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการฝึกงานและฝึก

         ประสบการณ์วิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 4 ปรับภาพลักษณ์ ทัศนคติและสร้างการยอมรับของสังคมที่มีต่อการเรียนสายอาชีพด้วยกระบวนการเชิงคุณภาพให้กับนักเรียน กลุ่มผู้ปกครองและชุมชน

โครงการสำคัญ

1.       โครงการส่งเสริมให้ มี การสร้างรายได้ ระหว่างเรียนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียนและ

         ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

2.        โครงการพัฒนาระบบการแนะแนวอาชีพเชิงรุกเพื่อให้สามารถเข้าถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง             

                   และผู้มีเกี่ยวข้อง

         3.   โครงการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ภาพลักษณ์ เชิงคุณภาพไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เห็น

         ความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาที่จะสร้างให้ เกิดการศึกษาเพื่ออาชีพ                             

         คือดวงประทีส่องชีวิต ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจเพื่อชีวิตที่มั่นคง

  4.     โครงการสร้างภาพยนตร์ เพื่อประชาสัมพันธ์ และปรับภาพลักษณ์ เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาว

          อาชีวศึกษาเชิงสร้างสรรค์

   5.     โครงการส่งเสริมคนดีศรีอาชีวะ

   6.     โครงการเยาวชนอาชีวะสัมพันธ์ ร่วมสร้างสรรค์สังคม

   7.     โครงการอาชี วะอาสา เพื่อพัฒนาสังคม

Ø  ยุทธศาสตร์ที่ 2  การเพิ่มโอกาสการเรียนและการฝึกอบรมวิชาชีพอาชีวศึกษาให้กับกลุ่มผู้อยู่นอกระบบ

 

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ผู้อยู่นอกระบบการศึกษาให้สามารถสร้างงาน สร้างรายได้

โครงการสำคัญ

    1.   โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับรายได้ ของชุมชน

    2.   โครงการฝึกอาชีพระยะสั้นตามความต้องการของตลาดแรงงาน

กลยุทธ์ที่ 2  ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพตลอดชีวิตให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการและผู้ อยู่นอกระบบ

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการเทียบโอนประสบการณ์ในการทำงานเพื่อให้คุณวุฒิทางการศึกษา

   2.   โครงการอบรมฝึกอาชีพร่วมกับหน่วยงานตามโครงการพระราชดำริ

   3.   โครงการฝึกอาชีพร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการตามนโยบายยุทธศาสตร์

   4.   โครงการฝึกอาชีพให้กับผู้พิการ สูงอายุผู้ด้อยโอกาส

กลยุทธ์ที่ 3  ส่งเสริม สนับสนุนอบรมวิชาชีพเพื่อการพัฒนาต่อยอดอาชีพเดิมหรือสร้างอาชีพใหม่สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ

โครงการสำคัญ

    1.   โครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อสร้างหรือเปลี่ยนอาชีพที่ตรงกับความต้องการของ

          ตลาดแรงงาน

   2.    โครงการอบรมยกระดับฝีมือแรงงานหลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน

 

Ø  ยุทธศาสตร์ที่ 3  พัฒนาระบบการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นไปตามสมรรถนะของกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพโดยความร่วมมือกับ

         สถานประกอบการ

   2.   โครงการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ ให้ ตรงกับสมรรถนะ

         ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบประเมินมาตรฐานวิชาชีพตรงตามคุณวุฒิวิชาชีพ

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการพัฒนาระบบประเมินมาตรฐานวิชาชีพโดยความร่วมมือของสถานประกอบการ

   2.   โครงการฝึกอบรมพัฒนาคณะกรรมการผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

Ø  ยุทธศาสตร์ที่ 4  สร้างระบบการจูงใจให้เกิดการตัดสินใจเข้าศึกษาต่ออาชีวศึกษา

กลยุทธ์ที่ 1 ปรับระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษา

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการพัฒนาหลักเกณฑ์ เพื่อให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดสรรเงินกู้ยืมให้แก่ผู้เรียน

        อาชีวศึกษา 100% ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน

   2.   โครงการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่พักและแหล่งรองรับงาน

กลยุทธ์ที่ 2 จัดหาแหล่งเงินสนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้ ที่สนใจและคนเก่งได้ศึกษาในระดับ ปวช. , ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการจัดหาแหล่งเงินทุนการศึกษาจากภายนอกสถานศึกษา

   2.   โครงการจัดหาแหล่งเงินทุนการศึกษาในสถานศึกษา

   3.   โครงการสนับสนุนเครื่องมือประจำตัวพื้นฐานตามวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพอิสระหลังจบการศึกษาสร้างความมั่นคงในชีวิต

โครงการสำคัญ

   1.   โครงการแนะแนวเส้นทางความก้าวหน้าเพื่อการประกอบอาชีพ (Career Path)

   2.   โครงการกองทุนตั้งตัวอาชีวศึกษา

   3.   โครงการเถ้าแก่น้อย

กลยุทธ์ที่ 4 มาตรการทางด้านภาษีอากรเพื่อการจูงใจให้สถานประกอบการให้ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา

 

โครงการสำคัญ

        โครงการศึกษาการสร้างแรงจูงใจ ทางด้านมาตรการภาษี อากรให้แก่ภาคเอกชนสถานประกอบการในการร่วมจัดการอาชีวศึกษา